วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ท่อ PVC แต่ละสีใช้งานแตกต่างกันอย่างไร



• ท่อพีวีซี สีเหลือง หรือ สีขาว

ท่อพีวีซีสีเหลือง หรือท่อพีวีซีแข็งสำหรับร้อยสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก.216-2524 ท่อพีวีซีสีเหลืองนั้นเป็นท่อที่ผลิตขึ้นมาใช้เพื่อร้อยสายไฟหรือสายโทรศัพท์ภายในอาคารโดยเฉพาะ มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า จึงไม่นำไฟฟ้าเมื่อเกิดไฟรั่ว มีคุณสมบัติไม่เป็นสนิม มีคุณสมบัติไม่ลามไฟ 

• ท่อพีวีซี สีขาว

ท่อพีวีซีสีขาว จะมีคุณสมบัติเหมือนท่อสีเหลืองแต่ ผู้ผลิตผลิตออกมาเพื่อใช้สำหรับการเดินสายไฟฟ้าแบบเดินลอยไม่ฝังหรือซ่อนอยู่ในผนังหรือฝ้า สามารถทาสีทับให้กลมกลืนกับผนังห้องได้

• ท่อพีวีซี สีเทา

ท่อพีวีซีสีเทา หรือท่อพีวีซีแข็งสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. 999-2533 ท่อชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานการเกษตรหรืองานระบายน้ำทิ้งโดยเฉพาะ เหมาะกับงานที่ไม่ต้องใช้แรงดันของท่อมากนัก แต่ท่อประเภทนี้ทาง สมอ. หรือสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยังไม่ได้กำหนดเป็นกฏเกณฑ์ตายตัวว่าต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี มอก. 999-2533 สำหรับในงานระบายน้ำทิ้งหรืองานด้านการเกษตร แต่ถ้าหากจะนำไปใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ท่อพีวีซีสีเทาที่มี มอก. 999-2533 เพราะทาง สมอ. จำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม เพราะการระบายน้ำทิ้งในงานอุตสาหกรรมอาจมีสารพิษหรือสารเคมีเจือปน ระบายออกมาด้วย

• ท่อพีวีซี สีฟ้า

ท่อพีวีซีสีฟ้า หรือ ท่อพีวีซีแข็งสำหรับใช้เป็นท่อน้ำดื่ม ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. 17-2532 ท่อชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้งานประปาสุขาภิบาลภายในอาคาร เช่น ใช้เป็นท่อน้ำประปา หรือใช้กับปั๊มน้ำ ซึ่งท่อประเภทนี้เป็นเพียงประเภทเดียวใน 3 สหายของเราที่มีการระบุมาตรฐานความดันหรือชั้นคุณภาพ อันได้แก่ PVC 5, PVC 8.5, PVC 13.5 ซึ่งตัวเลขที่ได้ระบุคือค่าความดันระบุและค่าความดันระบุหมายถึง ความดันที่กำหนดให้สำหรับใช้งาน ณ อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส โดยในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้อธิบายไว้ว่า ชั้นคุณภาพคือ ความดันระบุที่มีหน่วยเป็นเมกะพาสคัล


ที่มา type=1&fref=nfhttps://www.facebook.com/ElectricalRm/photos/a.422673381079401.115230.422449687768437/648851175128286/?type=1&fref=nf

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Centrifugal pump type chart




ที่มา: https://www.facebook.com/MechanicsTips/photos/a.146669025481842.34619.129323600549718/566336660181741/?type=1&theater

เขื่อนกับมาตรการรองรับแผ่นดินไหว

เขื่อนกับมาตรการรองรับแผ่นดินไหว

เขื่อนกับมาตรการรองรับแผ่นดินไหว
ความกลัว เป็นเรื่องของความรู้สึก แต่ ความจริง สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ดูแลเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนรัชชประภา เป็นต้น กฟผ. กล้ายืนยันถึงความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนจากเหตุแผ่นดินไหว ด้วยเหตุผลที่ว่า กฟผ. มีการดำเนินงานครอบคลุมทุกขั้นตอนเพื่อรองรับการเกิดแผ่นดินไหวไว้แล้วตั้งแต่เริ่ม ออกแบบ ก่อสร้าง ใช้งานและบำรุงรักษา โดยเฉพาะการใช้งานและบำรุงรักษา มีมาตการตรวจสอบและมาตรการเฝ้าระวังต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน
ในขั้นตอนการออกแบบและก่อสร้างเขื่อน กฟผ. ใส่ใจตั้งแต่ การสำรวจพื้นที่ ได้มีการศึกษาแล้วว่าพื้นที่ก่อสร้างไม่อยู่บนรอยเลื่อนที่มีพลัง ด้านการออกแบบเขื่อนได้นำแรงแผ่นดินไหวตามประกาศของกรมทรัพยากรธรณีและข้อกำหนดตามมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ในสมัยนั้น มาคำนวณออกแบบสำ หรับรองรับแผ่นดินไหวไว้แล้ว และหลังการก่อสร้างได้มีการทบทวนการรับแรงแผ่นดินไหวในช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ โดยการทบทวนได้ใช้เทคโนโลยี่ที่ทันสมัย ข้อมูลของเขื่อนและวิธีการออกแบบในปัจจุบัน พบว่า เขื่อนใหญ่ของ กฟผ. เช่น เขื่อนศรีนครินทร์สามารถรองรับแรงแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริกเตอร์ได้ เป็นต้น
การใช้งานและบำรุงรักษาเขื่อน ภายหลังการก่อสร้างเสร็จจนถึงปัจจุบัน กฟผ. มีมาตรการการดูแลในการตรวจสอบเขื่อนเป็นประจำและสม่ำเสมอ โดยเจ้าหน้าที่ของเขื่อน และคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยของเขื่อนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญของ กฟผ. และจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามหลักวิชาการและตามมาตรฐานสากล โดยยึดถือมาตรฐานสูงสุดด้านวิศวกรรมขององค์การเขื่อนใหญ่ระหว่างประเทศ (International Commission On Large Dam ; ICOLD) เป็นเกณฑ์อ้างอิง สำหรับวิธีการตรวจสอบเขื่อนนั้น จะตรวจที่จุดสำคัญต่างๆ ของเขื่อน ได้แก่ ตัวเขื่อน ไหล่เขื่อน ลาดเขื่อน ตีนเขื่อน อุโมงค์ตรวจสอบ อาคารระบายน้ำล้น อาคารระบายน้ำ อาคารท้ายน้ำ อ่างเก็บน้ำ และสภาพทางธรณีวิทยา รวมทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องกลของบานระบายน้ำอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยเขื่อนที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และมีอายุใช้งานไม่เกิน 2 ปี ต้องตรวจสอบปีละ 2 ครั้ง ส่วนเขื่อนที่มีอายุใช้งานระหว่าง 2 – 5 ปี ตรวจสอบปีละครั้ง และเขื่อนที่มีอายุใช้งานกว่า 5 ปี ตรวจสอบทุกๆ 2 ปี นอกจากนี้ กฟผ. ยังมีมาตรการการตรวจสอบเขื่อนกรณีพิเศษ ในกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวขนาดความรุนแรงระดับปานกลาง (5 ริกเตอร์) ขึ้นไปในรัศมี 200 กิโลเมตรจากตัวเขื่อน และในกรณีที่มีฝนตกหนักมากระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกิน 90 เปอร์เซ็นต์ของปริมาตรความจุอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น
20150821-A01-01
กระบวนการด้านความปลอดภัยเขื่อนตามมาตรฐานสากล
ระบบการตรวจเฝ้าระวังเขื่อน ประกอบด้วย การตรวจสอบด้วยสายตา การตรวจประเมินสภาพอุปกรณ์ควบคุมการระบายน้ำ การตรวจสอบด้วยเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อนต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ที่เขื่อนมากกว่า 100 จุดในระหว่างการก่อสร้างเขื่อน และใช้งานมาถึงปัจจุบัน การเฝ้าระวังพฤติกรรมเขื่อนนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะติดตามพฤติกรรมเขื่อนเปรียบเทียบกับที่ได้ออกแบบไว้ หากพบว่ามีพฤติกรรมที่ผิดไปจากที่ออกแบบไว้จะสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุและแก้ไขได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว จากข้อมูลพฤติกรรมเขื่อนทั้งหมดของ กฟผ. ตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จจนถึงปัจจุบันไม่พบเหตุการณ์ที่ผิดปกติไปจากที่ได้ออกแบบไว้
20150821-A01-02
นอกจากนี้ กฟผ. ยังนำเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยและระบบอัตโนมัติมาใช้ในการเฝ้าระวังพฤติกรรมเขื่อนและการเฝ้าระวังระดับน้ำในลำน้ำท้ายเขื่อน เพื่อความถูกต้องรวดเร็วของข้อมูล เช่น การติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวแบบอัตโนมัติไว้ที่ตัวเขื่อน ฐานเขื่อน ไหล่เขื่อน และรอบอ่างเก็บน้ำ การที่ติดตั้งเครื่องมือเหล่านี้เพื่อตรวจวัดแรงแผ่นดินไหวที่มากระทำต่อเขื่อนได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง
20150821-A01-03
นอกจากความใส่ใจเรื่องการก่อสร้าง การดูแลและการตรวจสอบที่ได้มาตรฐานแล้ว กฟผ. ยังคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เป็นสำคัญ จึงได้ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเครือข่ายประชาชนในพื้นที่ กำหนดมาตรการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมของประชาชนดังนี้
มาตรการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมของประชาชน ได้แก่ การจัดทำแผนที่น้ำท่วมเพื่อกำหนดพื้นที่ปลอดภัยกับพื้นที่เสี่ยงภัย การกำหนดเกณฑ์ความรุนแรงของสถานการณ์น้ำหลากในแม่น้ำ การติดตั้งระบบเตือนภัย เป็นต้น
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ ได้แก่ การกำหนดจุดรวมพลตามลำดับความรุนแรง การจัดทำแผนการช่วยเหลือบรรเทาภัย การให้การสนับสนุนด้านสาธารณสุข การจัดทำแผนอพยพ และการอำนวยความสะดวกกับผู้อพยพ เป็นต้น ซึ่งเทศบาลหนองบัว ในพื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรีนับเป็นตัวอย่างที่ดี ได้ทำการฝึกซ้อมแผนอพยพให้กับประชาชนแล้ว ซึ่งสามารถสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้
มาตรการดำเนินการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นการบริหารจัดการด้านการแจ้งเหตุ การตรวจสอบประเมินสถานการณ์ การติดตามความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น มาตรการเหล่านี้จะมีหน่วยงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเป็นหน่วยงานหลัก
มาตรการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน เป็นการนำเทคโนโลยีระบบ CCTV มาใช้ โดยติดตั้งกล้อง CCTV ให้เห็นภาพสันเขื่อนและตัวเขื่อนในเวลาปัจจุบันที่พี่น้องประชาชนสามารถเข้าไปดูผ่านทาง Web Site เพื่อสร้างความมั่นใจในกรณีเกิดข่าวลือ เช่น www.cctvsnr.egat.com สำหรับเขื่อนศรีนครินทร์ และ www.ichpp.egat.co.th/cctv.php สำหรับเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ เป็นต้น
ด้วยความใส่ใจทั้งในเรื่องของการบริหารจัดการที่ดี ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและพี่น้องประชาชน ณ วันนี้ เขื่อนยังคงมั่นคงปลอดภัย ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้า สร้างความสุขให้กับคนไทยสืบไป
ที่มา : http://www.balanceenergythai.com/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A/