วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558


โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power Plant)

เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ความร้อนของแสงอาทิตย์ไปต้มน้ำ หรือทำให้ก๊าซร้อน แล้วใช้ไอน้ำร้อน หรือก๊าซร้อน ไปทำให้เทอร์ไบน์หรือกังหันใบพัดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุนอีกต่อหนึ่ง หรืออาจใช้เซลล์สุริยะ หรือโซล่าร์เซลล์ (Solar Cell) ในปริมาณมาก เป็นตัวนำความร้อน ซึ่งการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีค่อนข้างสูง มีความสลับซับซ้อน และราคาลงทุนขั้นแรกสูงมาก





http://www.egco.com/th/energy_knowledge_solar.asp
http://www.thaisolarenergy.com/technology.php?menu=process

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

ไบโอแก๊ส (Biogas)

Biogas Production System : เทคโนโลยี ก๊าซชีวภาพ

งานบริการด้านเทคโนโลยี ก๊าซชีวภาพ (Biogas Production System)








ก๊าซชีวภาพ หรือ ไบโอแก๊ส (Biogas) คือ ก๊าซที่เกิดจากหมักย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำเสียและของเสีย โดยอาศัยกลุ่มของจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้อากาศ ทำหน้าที่หมักย่อยสลายสารอินทรีย์ให้เปลี่ยนรูปเป็นก๊าซชีวภาพ
องค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ
องค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ
ประเภทน้ำเสียและของเสียที่สามารถนำมาผลิตก๊าซชีภาพ
Biogas Farm Biogas Waste Water
น้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์
น้ำเสียจากโรงงานเกษตรอุตสาหกรรม
Biogas Foodwaste Biogas Napiergrass
เศษขยะอินทรีย์
การหมักย่อยพืชพลังงาน
เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพที่สถาบันให้บริการ
เทคโนโลยีบ่อหมักรางรุ่นเล็ก
Biogas Channel Digester Junior คุณสมบัติ
  • ก่อสร้างง่าย ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นราคาถูก
  • ง่ายต่อการบำรุงรักษา
  • มีประสิทธิภาพในการหมักย่อยน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์
  • เหมาะสำหรับผู้ประกอบการฟาร์มขนาดเล็ก
เทคโนโลยีบ่อหมักราง
Biogas Channel Digester คุณสมบัติ
  • สามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว
  • มีประสิทธิภาพสูง มีความยั่งยืนในการใช้งาน
  • ง่ายต่อการบำรุงรักษา
  • สามารถประยุกต์ใช้กับน้ำเสียได้หลากหลายประเภท
เทคโนโลยีบ่อหมักรางรุ่นแบบผสมผสาน
Biogas Hybrid Digester คุณสมบัติ
  • ผลิตก๊าซชีวภาพได้ดี และรองรับน้ำเสียได้มากขึ้น
  • เพิ่มประสิทธิภาพให้สารอินทรีย์และแบคทีเรียสัมผัสกันมากขึ้น
  • รักษาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ให้อยู่ในระบบได้ดีขึ้น
  • เหมาะกับน้ำเสียประเภทโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
เทคโนโลยีบ่อหมักแบบกวนสมบูรณ์
Biogas CMU CSTR คุณสมบัติ
  • ผลิตก๊าซชีวภาพได้ดี และรองรับน้ำเสียได้มากขึ้น
  • เพิ่มประสิทธิภาพให้สารอินทรีย์และแบคทีเรียสัมผัสกันมากขึ้น
  • รักษาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ให้อยู่ในระบบได้ดีขึ้น
  • เหมาะกับน้ำเสียประเภทโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
เทคโนโลยีบ่อหมักแบบมีผนังกั้น
Biogas CMU–ABR คุณสมบัติ
  • มีการกวนผสมแบบไหลย้อนขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหมักย่อย
  • มีการกักเก็บเชื้อจุลินทรีย์และแยกประเภทเชื้อในแต่ละห้องทำให้ระบบมีความเสถียรมากขึ้น
  • รองรับภาระ shock load และลักษณะของเสียได้หลากหลาย
  • เหมาะกับน้ำเสียที่มีอัตราการไหล แบบไม่สม่ำเสมอ
ประโยชน์ของก๊าซชีภาพ
ใช้เป็นพลังงานทดแทน
ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ
ขอบเขตการให้บริการของสถาบันฯ
  • ให้บริการทั้งในรูปแบบงาน Turnkey และงานที่ปรึกษา
  • สำรวจข้อมูลทางวิศวกรรม และออกแบบการก่อสร้างชีวภาพ
  • ควบคุมงานก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพ
  • เริ่มต้นเดินระบบก๊าซชีวภาพ จนเข้าสู่ภาวะเสถียร
  • ฝึกอบรมการใช้งาน และมาตรฐานความปลอดภัย
  • ติดตามผลการทำงานของระบบก๊าซชีวภาพ

ที่มา : http://www.erdi.cmu.ac.th/index.php/services/view?pid=1

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant)

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant) 

ใช้แรงดันของน้ำจากเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าโรงไฟฟ้าไปหมุนเพลาของกังหันน้ำ ซึ่งจะขุดให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าตลอดเวลาที่มีการเปิดน้ำให้ไหลผ่าน 


โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ (Incinery Power Plant)

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ (Incinery Power Plant) 

ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดยขยะส่วนใหญ่เป็นมวลชีวภาพ เช่น กระดาษ เศษอาหาร และไม้ ฯลฯ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะมีวิธีการทำงานเหมือนกับโรงไฟฟ้าอื่นๆ โดยจะนำขยะมาเผาบนตะแกรง แล้วนำความร้อนที่เกิดขึ้นมาใช้ต้มน้ำในหม้อน้ำจนกลายเป็นไอน้ำเดือด ซึ่งจะไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า





วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

ตอน โรงไฟฟ้าชีวมวล

โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวล (ฺBiomass Power Plant)

โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวล (ฺBiomass Power Plant) 

เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เศษวัสดุจากเชื้อเพลิงชีวมวล ได้แก่ กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กากจากผลผลิตทางการเกษตรที่ผ่านการแปรรูปแล้ว เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษไม้ กากปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กากและกะลามะพร้าว ส่าเหล้า เป็นต้น นำมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และพลังไอน้ำ ซึ่งอาจเป็นเศษวัสดุชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ โดยชีวมวลแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป สำหรับโรงไฟฟ้าที่เลือกใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากแกลบมีความชื้นต่ำ จึงให้ค่าความร้อนสูง และมีหลักการทำงานคล้ายกับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน

ความหมายของชีวมวล

       ชีวมวล (Biomass)  คือ สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิต พลังงานได้ เช่น เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือกากจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น แกลบ ได้จากการสีข้าวเปลือกชานอ้อย ได้จากการผลิตน้ำตาลทรายเศษไม้ ได้จากการแปรรูปไม้ยางพาราหรือไม้ยูคาลิปตัสเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนได้จากสวนป่าที่ปลูกไว้กากปาล์ม ได้จากการสกัดน้ำมันปาล์มดิบออกจากผลปาล์มสดกากมันสำปะหลัง ได้จากการผลิตแป้งมันสำปะหลังซังข้าวโพด ได้จากการสีข้าวโพดเพื่อนำเมล็ดออกกาบและกะลามะพร้าว ได้จากการนำมะพร้าวมาปลอกเปลือกออกเพื่อนำเนื้อ  มะพร้าวไปผลิตกะทิ และน้ำมันมะพร้าวส่าเหล้า ได้จากการผลิตอัลกอฮอล์เป็นต้นชีวมวล สามารถเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานได้ เพราะในขั้นตอนของการเจริญเติบโตนั้น พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ

     แล้วเปลี่ยนพลังงาน จากแสงอาทิตย์โดยผ่านกระบวนการ สังเคราะห์แสงได้ออกมา เป็นแป้งและน้ำตาล แล้วกักเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ ของพืช ดังนั้น เมื่อนำพืชมาเป็นเชื้อเพลิง เราก็จะได้พลังงานออกมา การใช้ประโยชน์ จากพลังงานชีวมวล สามารถใช้ได้ ทั้งในรูปของพลังงานความร้อน ไอน้ำ หรือผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า โดยจะใช้ เชื้อเพลิงชีวมวล ชนิด ใดชนิดหนึ่งที่กล่าวมาข้างต้น หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ชีวมวลจึงเป็นแหล่งเชื้อเพลิงราคาถูก หากมีการใช้ประโยชน์ในบริเวณที่ไม่ไกลจากแหล่งเชื้อเพลิงมากนัก เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง  ชีวมวล มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย การนำชีวมวลมาใช้จึงช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าเชื้อ เพลิงและสร้างรายได้ให้กับคนท้องถิ่น นอกจากนี้การผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและไม่สร้างสภาวะเรือนกระจก เนื่องจากการปลูกทดแทนทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดการหมุนเวียนและไม่มี การปลดปล่อยเพิ่มเติม เรายังมุ่งหวังว่าการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับชีวมวลจะสามารถเสริมสร้างความ เข้มแข็งและ การมีส่วนร่วมของชุมชนได้อีกด้วย
องค์ประกอบของชีวมวล
องค์ประกอบของชีวมวลหรือสสารทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือ
               ความชื้น (Moisture)  ความชื้นหมายถึงปริมาณน้ำที่มีอยู่ ชีวมวลส่วนมากจะมีความชื้นค่อนข้างสูง เพราะเป็นผลผลิตทางการเกษตร ถ้าต้องการนำชีวมวลเป็นพลังงานโดยการเผาไหม้ ความชื้นไม่ควรเกิน 50 เปอร์เซ็นต์
               ส่วนที่เผาไหม้ได้ (Combustible substance)ส่วนที่เผาไหม้ได้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Volatiles matter และ Fixed Carbon Volatiles matter คือส่วนที่ลุกเผาไหม้ได้ง่าย ดังนั้นชีวมวลใดที่มีค่า Volatiles matter สูงแสดงว่าติดไฟได้ง่าย
                ส่วนที่เผาไหม้ไม่ได้ คือขี้เถ้า (Ash)ชีวมวลส่วนใหญ่จะมีขี้เถ้าประมาณ 1 -3 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นแกลบและฟางข้าว จะมีสัดส่วนขี้เถ้าประมาณ 10 -20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะมีปัญหาในการเผาไหม้และกำจัดพอสมควร

http://www.espthailand.com/article/definition-of-biomass.html