วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558
วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ท่อ PVC แต่ละสีใช้งานแตกต่างกันอย่างไร
• ท่อพีวีซี สีเหลือง หรือ สีขาว
ท่อพีวีซีสีเหลือง หรือท่อพีวีซีแข็งสำหรับร้อ
• ท่อพีวีซี สีขาว
ท่อพีวีซีสีขาว จะมีคุณสมบัติเหมือนท่อสีเห
• ท่อพีวีซี สีเทา
ท่อพีวีซีสีเทา หรือท่อพีวีซีแข็งสำหรับใช้
• ท่อพีวีซี สีฟ้า
ท่อพีวีซีสีฟ้า หรือ ท่อพีวีซีแข็งสำหรับใช้เป็น
ที่มา type=1&fref=nfhttps://www.facebook.com/ElectricalRm/photos/a.422673381079401.115230.422449687768437/648851175128286/?type=1&fref=nf
วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558
Centrifugal pump type chart
เขื่อนกับมาตรการรองรับแผ่นดินไหว
เขื่อนกับมาตรการรองรับแผ่นดินไหว
ความกลัว เป็นเรื่องของความรู้สึก แต่ ความจริง สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ดูแลเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนรัชชประภา เป็นต้น กฟผ. กล้ายืนยันถึงความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนจากเหตุแผ่นดินไหว ด้วยเหตุผลที่ว่า กฟผ. มีการดำเนินงานครอบคลุมทุกขั้นตอนเพื่อรองรับการเกิดแผ่นดินไหวไว้แล้วตั้งแต่เริ่ม ออกแบบ ก่อสร้าง ใช้งานและบำรุงรักษา โดยเฉพาะการใช้งานและบำรุงรักษา มีมาตการตรวจสอบและมาตรการเฝ้าระวังต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน
ในขั้นตอนการออกแบบและก่อสร้างเขื่อน กฟผ. ใส่ใจตั้งแต่ การสำรวจพื้นที่ ได้มีการศึกษาแล้วว่าพื้นที่ก่อสร้างไม่อยู่บนรอยเลื่อนที่มีพลัง ด้านการออกแบบเขื่อนได้นำแรงแผ่นดินไหวตามประกาศของกรมทรัพยากรธรณีและข้อกำหนดตามมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ในสมัยนั้น มาคำนวณออกแบบสำ หรับรองรับแผ่นดินไหวไว้แล้ว และหลังการก่อสร้างได้มีการทบทวนการรับแรงแผ่นดินไหวในช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ โดยการทบทวนได้ใช้เทคโนโลยี่ที่ทันสมัย ข้อมูลของเขื่อนและวิธีการออกแบบในปัจจุบัน พบว่า เขื่อนใหญ่ของ กฟผ. เช่น เขื่อนศรีนครินทร์สามารถรองรับแรงแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริกเตอร์ได้ เป็นต้น
การใช้งานและบำรุงรักษาเขื่อน ภายหลังการก่อสร้างเสร็จจนถึงปัจจุบัน กฟผ. มีมาตรการการดูแลในการตรวจสอบเขื่อนเป็นประจำและสม่ำเสมอ โดยเจ้าหน้าที่ของเขื่อน และคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยของเขื่อนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญของ กฟผ. และจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามหลักวิชาการและตามมาตรฐานสากล โดยยึดถือมาตรฐานสูงสุดด้านวิศวกรรมขององค์การเขื่อนใหญ่ระหว่างประเทศ (International Commission On Large Dam ; ICOLD) เป็นเกณฑ์อ้างอิง สำหรับวิธีการตรวจสอบเขื่อนนั้น จะตรวจที่จุดสำคัญต่างๆ ของเขื่อน ได้แก่ ตัวเขื่อน ไหล่เขื่อน ลาดเขื่อน ตีนเขื่อน อุโมงค์ตรวจสอบ อาคารระบายน้ำล้น อาคารระบายน้ำ อาคารท้ายน้ำ อ่างเก็บน้ำ และสภาพทางธรณีวิทยา รวมทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องกลของบานระบายน้ำอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยเขื่อนที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และมีอายุใช้งานไม่เกิน 2 ปี ต้องตรวจสอบปีละ 2 ครั้ง ส่วนเขื่อนที่มีอายุใช้งานระหว่าง 2 – 5 ปี ตรวจสอบปีละครั้ง และเขื่อนที่มีอายุใช้งานกว่า 5 ปี ตรวจสอบทุกๆ 2 ปี นอกจากนี้ กฟผ. ยังมีมาตรการการตรวจสอบเขื่อนกรณีพิเศษ ในกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวขนาดความรุนแรงระดับปานกลาง (5 ริกเตอร์) ขึ้นไปในรัศมี 200 กิโลเมตรจากตัวเขื่อน และในกรณีที่มีฝนตกหนักมากระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกิน 90 เปอร์เซ็นต์ของปริมาตรความจุอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น
กระบวนการด้านความปลอดภัยเขื่อนตามมาตรฐานสากล
ระบบการตรวจเฝ้าระวังเขื่อน ประกอบด้วย การตรวจสอบด้วยสายตา การตรวจประเมินสภาพอุปกรณ์ควบคุมการระบายน้ำ การตรวจสอบด้วยเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อนต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ที่เขื่อนมากกว่า 100 จุดในระหว่างการก่อสร้างเขื่อน และใช้งานมาถึงปัจจุบัน การเฝ้าระวังพฤติกรรมเขื่อนนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะติดตามพฤติกรรมเขื่อนเปรียบเทียบกับที่ได้ออกแบบไว้ หากพบว่ามีพฤติกรรมที่ผิดไปจากที่ออกแบบไว้จะสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุและแก้ไขได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว จากข้อมูลพฤติกรรมเขื่อนทั้งหมดของ กฟผ. ตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จจนถึงปัจจุบันไม่พบเหตุการณ์ที่ผิดปกติไปจากที่ได้ออกแบบไว้
นอกจากนี้ กฟผ. ยังนำเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยและระบบอัตโนมัติมาใช้ในการเฝ้าระวังพฤติกรรมเขื่อนและการเฝ้าระวังระดับน้ำในลำน้ำท้ายเขื่อน เพื่อความถูกต้องรวดเร็วของข้อมูล เช่น การติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวแบบอัตโนมัติไว้ที่ตัวเขื่อน ฐานเขื่อน ไหล่เขื่อน และรอบอ่างเก็บน้ำ การที่ติดตั้งเครื่องมือเหล่านี้เพื่อตรวจวัดแรงแผ่นดินไหวที่มากระทำต่อเขื่อนได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากความใส่ใจเรื่องการก่อสร้าง การดูแลและการตรวจสอบที่ได้มาตรฐานแล้ว กฟผ. ยังคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เป็นสำคัญ จึงได้ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเครือข่ายประชาชนในพื้นที่ กำหนดมาตรการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมของประชาชนดังนี้
มาตรการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมของประชาชน ได้แก่ การจัดทำแผนที่น้ำท่วมเพื่อกำหนดพื้นที่ปลอดภัยกับพื้นที่เสี่ยงภัย การกำหนดเกณฑ์ความรุนแรงของสถานการณ์น้ำหลากในแม่น้ำ การติดตั้งระบบเตือนภัย เป็นต้น
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ ได้แก่ การกำหนดจุดรวมพลตามลำดับความรุนแรง การจัดทำแผนการช่วยเหลือบรรเทาภัย การให้การสนับสนุนด้านสาธารณสุข การจัดทำแผนอพยพ และการอำนวยความสะดวกกับผู้อพยพ เป็นต้น ซึ่งเทศบาลหนองบัว ในพื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรีนับเป็นตัวอย่างที่ดี ได้ทำการฝึกซ้อมแผนอพยพให้กับประชาชนแล้ว ซึ่งสามารถสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้
มาตรการดำเนินการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นการบริหารจัดการด้านการแจ้งเหตุ การตรวจสอบประเมินสถานการณ์ การติดตามความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น มาตรการเหล่านี้จะมีหน่วยงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเป็นหน่วยงานหลัก
มาตรการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน เป็นการนำเทคโนโลยีระบบ CCTV มาใช้ โดยติดตั้งกล้อง CCTV ให้เห็นภาพสันเขื่อนและตัวเขื่อนในเวลาปัจจุบันที่พี่น้องประชาชนสามารถเข้าไปดูผ่านทาง Web Site เพื่อสร้างความมั่นใจในกรณีเกิดข่าวลือ เช่น www.cctvsnr.egat.com สำหรับเขื่อนศรีนครินทร์ และ www.ichpp.egat.co.th/cctv.php สำหรับเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ เป็นต้น
ด้วยความใส่ใจทั้งในเรื่องของการบริหารจัดการที่ดี ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและพี่น้องประชาชน ณ วันนี้ เขื่อนยังคงมั่นคงปลอดภัย ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้า สร้างความสุขให้กับคนไทยสืบไป
ที่มา : http://www.balanceenergythai.com/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A/
วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด
กำลังเป็นประเด็นในสังคม ก็เลยหาข้อมูลมาให้อ่านนะครับ
เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด
( Clean Coal Technology)
เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เป็นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการกำจัดหรือลดมลพิษเพื่อนำถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งปัญหามลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของถ่านหิน ได้แก่ ฝุ่นละออง ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น ปัจจุบันเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดได้รับการพัฒนาและสามารถกำจัดปัญหามลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของถ่านหินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ แต่สำหรับปัญหาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยีในการควบคุมให้เกิดประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม ประเทศญี่ปุ่นในฐานะประเทศผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดในภูมิภาคเอเชีย ได้ดำเนินการพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินควบคู่ไปกับเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในภาคการผลิตไฟฟ้า
ประเภทของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด
1. เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดก่อนการเผาไหม้ (Pre-combustion Technology) เป็นการกำจัดสิ่งเจือปนต่างๆ ออกจากถ่านหิน เช่น ฝุ่นละออง เศษดิน เศษหิน และสารประกอบอนินทรีย์ เช่น Pyritic Sulfur เพื่อลดปริมาณเถ้าและกำมะถัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มค่าความร้อนของถ่านหินก่อนนำไปเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงต่อไป โดยมีวิธีการทำความสะอาดดังกล่าว ได้แก่
1.1 การทำความสะอาดโดยวิธีทางกายภาพ (Physical Cleaning) คือ การแยกสารที่ไม่ต้องการ เช่น ฝุ่นละออง เศษดิน เศษหิน และ Pyritic Sulfur ออกจากเนื้อถ่านหิน
1.2 การทำความสะอาดโดยวิธีทางเคมี (Chemical Cleaning) คือ การใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติชะล้างแร่ธาตุและกำมะถันอินทรีย์ ซึ่งไม่สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีการทำความสะอาดทางกายภาพ วิธีทางเคมีดังกล่าว เช่น Molten Caustic Leaching
1.3 การทำความสะอาดโดยวิธีทางชีวภาพ (Biological Cleaning) คือ การใช้สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น แบคทีเรีย และ เชื้อรา ในการกำจัดกำมะถันในถ่านหิน
2. เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดขณะการเผาไหม้ ( Combustion Technology) เป็นการปรับปรุงเตาเผาและหม้อไอน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาไหม้ถ่านหินและลดมลพิษที่เกิดระหว่างการเผาไหม้ ซึ่งจะควบคุมไม่ให้มีการปล่อยก๊าซมลพิษ (Zero Emission) เทคโนโลยีดังกล่าว ได้แก่
2.1 Pulverized Fuel Combustion (PFC) คือ วิธีการเผาไหม้ถ่านหินด้วยการบดถ่านหินให้มีขนาดเล็กมาก แล้วพ่นเข้าไปในเตาเผาพร้อมอากาศ เมื่อถ่านหินติดไฟจะให้ความร้อนแก่หม้อไอน้ำ ซึ่งไอน้ำจะไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีของเตาเผาทำให้ประสิทธิภาพในการเผาไหม้ถ่านหินเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 40 สำหรับ ระบบ Advanced Pulverized Coal ผงถ่านหินจะถูกเผาไหม้ในห้องเผาไหม้ของหม้อไอน้ำ และไอน้ำที่ได้นำไปขับกังหันไอน้ำ ประสิทธิภาพการกำเนิดไฟฟ้าขึ้นอยู่กับสภาพของไอน้ำ
2.1 Fluidized Bed Combustion (FBC) คือ วิธีการเผาไหม้ถ่านหินด้วยการนำถ่านหินที่บดจนมีขนาดเล็กมากผสมกับหินปูนพ่นเข้าไปในหม้อไอน้ำพร้อมอากาศร้อน ถ่านหินและหินปูนที่พ่นเข้าไปจะแขวนลอยอยู่ในคลื่นอากาศร้อน โดยมีลักษณะคล้ายของเหลวเดือด ขณะที่ถ่านหินเผาไหม้ หินปูนจะทำหน้าที่คล้ายฟองน้ำดักจับกำมะถันที่เกิดขึ้น ความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินจะนำมาต้มน้ำทำให้เกิดไอน้ำไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กระบวนการนี้สามารถลดปริมาณกำมะถันที่จะถูกปล่อยออกมาจากการเผาไหม้ได้มากถึงร้อยละ 90 นอกจากนี้อุณหภูมิของหม้อไอน้ำที่ใช้กระบวนการนี้ยังต่ำกว่าอุณหภูมิที่ใช้ในวิธีการเดิม ประโยชน์ของการเผาไหม้ที่อุณหภูมิต่ำ คือ ลดปริมาณมลพิษที่เกิดจากไนโตรเจนในถ่านหิน สำหรับ Pressured Fluidized Bed Combustion เป็นการเผาไหม้ถ่านหินแบบ Fluidized Bed ภายใต้ความดันสูง ความร้อนที่ผลิตได้นำไปใช้ผลิตไอน้ำเพื่อขับกังหันไอน้ำ ส่วนก๊าซร้อนที่ได้มีแรงดันและอุณหภูมิสูงสามารถนำไปขับกังหันก๊าซเพื่อผลิตไฟฟ้าร่วม การผลิตพลังงานความร้อนร่วมแบบนี้มีประสิทธิภาพสูง และยังมีการพัฒนาระบบการเผาไหม้ถ่านหินแบบ Fluidized Bed ภายใต้ความดันสูง ชนิดฟองอากาศ (Bubbling Type PFBC)
2.3 Integrated Gasification Combined Cycle (IGCC) คือ การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนสถานะถ่านหินให้เป็นก๊าซ (Coal Gasification) กับ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมกังหันก๊าซ (Gas Fired Combined Cycle Plant) เข้าด้วยกัน โดยกระบวนการเริ่มจากการนำถ่านหินไปผสมกับไอน้ำและออกซิเจน โดยใช้แรงดันและอุณหภูมิสูงจนเกิดปฏิกริยาทางเคมี จะได้ก๊าซที่มีส่วนประกอบของคาร์บอนมอนอกไซด์ และไฮโดรเจน ก๊าซที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงนี้ จะผ่านขั้นตอนในการทำให้สะอาด โดยการสกัดฝุ่นละออง กำมะถัน และไนโตรเจนออกไป ก่อนที่จะนำไปเผาไหม้ผ่านเครื่องกังหันก๊าซ เพื่อหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า นอกจากนี้ ความร้อนหรือก๊าซเสียที่ออกมาจากเครื่องกังหันก๊าซ จะนำไปใช้ให้ความร้อนแก่หม้อกำเนิดไอน้ำ เพื่อหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อีกทอดหนึ่ง
2.4 Ultra Super Critical (USC) คือ การใช้หม้อกำเนิดไฟฟ้าแรงดันสูง เพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน
3. เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดหลังการเผาไหม้ ( Post-Combustion Technology) เป็นการกำจัดมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้และป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากถ่านหินเผาไหม้แล้ว เทคโนโลยีดังกล่าว ได้แก่
3.1 Electrostatic Precipitator คือ การดักจับฝุ่นด้วยการใช้ไฟฟ้าสถิตดักจับเถ้าลอย โดยให้ฝุ่นละอองมีประจุไฟฟ้าขั้วหนึ่งและถังเก็บฝุ่นละอองมีประจุไฟฟ้าอีกขั้วหนึ่ง ระบบนี้มีประสิทธิภาพสูงในการดักจับฝุ่น หรือใช้ไซโคลน (Cyclone) ในการแยกฝุ่น โดยใช้หลักของแรงเหวี่ยงเพื่อให้ก๊าซเกิดการหมุนตัว ฝุ่นจะถูกแยกออกมา สามารถใช้ร่วมกับหม้อไอน้ำแบบ Fluidized Bed หรือกับหม้อไอน้ำแบบ Pulverized Coal นอกจากนี้อาจใช้อุปกรณ์ดักจับฝุ่นแบบถุงกรอง (Bag Filter) มีเทคโนโลยีหลักๆ คือ High Temperature ESP, Low temperature ESP และ Low Lower temperature ESP
3.2 Flue Gas Desulfurization (FGD) คือ ขบวนการกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ออกมาพร้อมก๊าซทิ้ง เทคโนโลยีดังกล่าวมี 2 แบบหลักๆ คือ แบบเปียก (Wet Type) และแบบแห้ง (Dry Type) เทคโนโลยีแบบเปียกจะเป็นที่นิยมมาก ส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นแบบ Limestone-gypsum คือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในก๊าซทิ้งจะทำปฏิกิริยากับของผสมระหว่างน้ำกับหินปูนที่ฉีดเข้าไปในระบบก๊าซทิ้ง เกิดเป็นยิบซัม ซึ่งเป็นสารประกอบที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์อื่นได้
3.3 Flue Gas Denitrifurizer คือ ขบวนการกำจัดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ในก๊าซทิ้ง มีเทคโนโลยีหลักๆ คือ Selective Catalytic Reduction (SCR), Two Stage Combustion และ Low Nox Burner แต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี SCR นิยมใช้กันแพร่หลายเนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง ขบวนการคือ ใช้แอมโมเนียทำปฏิกิริยากับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ เกิดเป็นไนโตรเจนและน้ำ
4. เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดโดยการแปรสภาพถ่านหิน (Coal Conversion) ปัจจุบันได้มีการพัฒนา ดังนี้
4.1 Coal Gasification Technology คือ การแปรสภาพถ่านหินให้เป็นก๊าซ ซึ่งเป็นกระบวนการออกซิเดชั่นถ่านหินเพียงบางส่วน โดยถ่านหินทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนหรืออากาศและไอน้ำภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง ให้ก๊าซเชื้อเพลิง (Fuel Gas) ซึ่งประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นส่วนใหญ่ ก๊าซเชื้อเพลิงที่ได้จะถูกนำมาทำให้สะอาดโดยการกำจัดมลพิษก่อน ก๊าซที่ได้นี้สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง หรือเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์แอมโมเนีย เมทานอล หรือก๊าซไฮโดรเจน เตาปฏิกรณ์ที่ใช้ในการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหญ่ๆ คือ Entraied Flow, Fluidised Bed และ Moving Bed การเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของถ่านหิน และขนาดของโรงงาน นอกจากขบวนการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงในโรงงานแล้ว ยังสามารถผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากถ่านหินที่อยู่ใต้ดินซึ่งไม่คุ้มค่าต่อการขุดขึ้นมา กระบวนการนี้เรียกกว่าUnderground Gasification ซึ่งทำโดยการอัดไอน้ำและออกซิเจนเข้าไปในชั้นถ่านหินผ่านหลุมเจาะจากพื้นผิวดิน เมื่อชั้นถ่านหินบางส่วนติดไฟ ความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้จะทำให้ถ่านหินที่เหลือผลิตก๊าซเชื้อเพลิงก๊าซที่เกิดขึ้นจะผ่านขึ้นมาตามท่อ และนำไปแยกมลพิษออกก่อนที่จะนำไปใช้ นอกจากนี้สามารถนำมาใช้ร่วมในการผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น การผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมกับกระบวนการผลิตก๊าซจากถ่านหิน (Integrated coal gasification combined cycle Power Generation, IGCC) และการผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมโดยกระบวนการผลิตก๊าซจากถ่านหินและเซลเชื้อเพลิง (Integrated coal gasification fuel cell combined cycle Power Generation, IGFC) เป็นระบบการผลิตไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงที่รวมกังหันก๊าซและไอน้ำ ประสิทธิภาพความร้อนสูงถึงร้อยละ 55
4.2 Coal Liquefaction Technology คือ การแปลงถ่านหินให้อยู่ในสภาพของเหลว เป็นการแปรรูปถ่านหิน ให้อยู่ในรูปเชื้อเพลิงเหลว (liquid fuel) โดยทั่วไปการผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากถ่านหิน ทำได้โดยการแยกคาร์บอนออก หรือการเติมไฮโดรเจนเข้าไป กรณีแรกเรียกว่า Carbonisation หรือ Pyrolysis สำหรับการเติมไฮโดรเจน เรียกว่า Liquefaction เชื้อเพลิงเหลวที่ได้จากถ่านหิน สามารถนำมากลั่นในขบวนการกลั่นน้ำมัน จะได้น้ำมันสำหรับรถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น พลาสติก และสารละลายต่างๆ (Solvent) กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงเหลวสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ การผลิตเชื้อเพลิงเหลวโดยตรง (Direct Liquefaction) เป็นการแปรรูปถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเหลว โดยใช้กระบวนการเดียว (Single Process) และการผลิตเชื้อเพลิงเหลวโดยทางอ้อม (Indirect Liquefaction) เป็นการนำถ่านหินมาผ่านกระบวนการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงก่อน จึงนำมาแปรรูปเป็นของเหลว
4.3 Dimethyl Ether (DME) คือ เทคโนโลยีสังเคราะห์เชื้อเพลิงสะอาด โดยนำก๊าซมีเทน ซึ่งมาจากเหมืองถ่านหิน (CBM) นำมาผ่านกระบวนการสังเคราะห์ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ คือ DME ซึ่งคุณสมบัติเปรียบเสมือน LPG (liquefied petroleum gas) คาร์บอนไดออกไซด์ และเมธานอล
ที่มา : http://www.eppo.go.th/coal/tech.html
สามารอ่านข้อมูลเพิ่งเติมได้ที่นี้
http://pantip.com/topic/33069217
วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558
EGAT งานลากสายไฟฟ้าแรงสูง 500 KV อ.สองแคว จ.น่าน
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ Thailand Power Quality Solutions
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558
CrystEna Hitachi's energy storage solution to support everyday life - ...
ขอบคุณเพจ Thailand Power Quality Solutions นะครับ
วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558
วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558
วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
โรงไฟฟ้าพลังงานลม (Wind Power Plant)
เป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ 2 ที่ โดยใช้กังหันลมเป็นอุปกรณ์นำพลังงานลมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการผลิตกระแส ไฟฟ้า และในการสูบน้ำ จึงต้องติดตั้งกังหันลมไว้ในสถานที่ที่ลมพัดแรงตลอดเวลาจึงจะทำงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ เมื่อกังหันลมหมุนแกนของกังหันลมที่ต่อมายังเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้า ออกมาใช้งานได้
วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power Plant)
เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ความร้อนของแสงอาทิตย์ไปต้มน้ำ หรือทำให้ก๊าซร้อน แล้วใช้ไอน้ำร้อน หรือก๊าซร้อน ไปทำให้เทอร์ไบน์หรือกังหันใบพัดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุนอีกต่อหนึ่ง หรืออาจใช้เซลล์สุริยะ หรือโซล่าร์เซลล์ (Solar Cell) ในปริมาณมาก เป็นตัวนำความร้อน ซึ่งการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีค่อนข้างสูง มีความสลับซับซ้อน และราคาลงทุนขั้นแรกสูงมาก
http://www.egco.com/th/energy_knowledge_solar.asp
http://www.thaisolarenergy.com/technology.php?menu=process
วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558
ไบโอแก๊ส (Biogas)
Biogas Production System : เทคโนโลยี ก๊าซชีวภาพ
ก๊าซชีวภาพ หรือ ไบโอแก๊ส (Biogas) คือ ก๊าซที่เกิดจากหมักย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำเสียและของเสีย โดยอาศัยกลุ่มของจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้อากาศ ทำหน้าที่หมักย่อยสลายสารอินทรีย์ให้เปลี่ยนรูปเป็นก๊าซชีวภาพ
องค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ
ประเภทน้ำเสียและของเสียที่สามารถนำมาผลิตก๊าซชีภาพ
น้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์
|
น้ำเสียจากโรงงานเกษตรอุตสาหกรรม
|
เศษขยะอินทรีย์
|
การหมักย่อยพืชพลังงาน
|
เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพที่สถาบันให้บริการ
คุณสมบัติ
|
คุณสมบัติ
|
คุณสมบัติ
|
คุณสมบัติ
|
คุณสมบัติ
|
ประโยชน์ของก๊าซชีภาพ
ขอบเขตการให้บริการของสถาบันฯ
- ให้บริการทั้งในรูปแบบงาน Turnkey และงานที่ปรึกษา
- สำรวจข้อมูลทางวิศวกรรม และออกแบบการก่อสร้างชีวภาพ
- ควบคุมงานก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพ
- เริ่มต้นเดินระบบก๊าซชีวภาพ จนเข้าสู่ภาวะเสถียร
- ฝึกอบรมการใช้งาน และมาตรฐานความปลอดภัย
- ติดตามผลการทำงานของระบบก๊าซชีวภาพ
ที่มา : http://www.erdi.cmu.ac.th/index.php/services/view?pid=1
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant)
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
(Hydro Power Plant)
ใช้แรงดันของน้ำจากเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าโรงไฟฟ้าไปหมุนเพลาของกังหันน้ำ ซึ่งจะขุดให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าตลอดเวลาที่มีการเปิดน้ำให้ไหลผ่าน
ใช้แรงดันของน้ำจากเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าโรงไฟฟ้าไปหมุนเพลาของกังหันน้ำ ซึ่งจะขุดให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าตลอดเวลาที่มีการเปิดน้ำให้ไหลผ่าน
โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ (Incinery Power Plant)
โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ
(Incinery Power
Plant)
ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดยขยะส่วนใหญ่เป็นมวลชีวภาพ เช่น กระดาษ เศษอาหาร และไม้ ฯลฯ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะมีวิธีการทำงานเหมือนกับโรงไฟฟ้าอื่นๆ โดยจะนำขยะมาเผาบนตะแกรง แล้วนำความร้อนที่เกิดขึ้นมาใช้ต้มน้ำในหม้อน้ำจนกลายเป็นไอน้ำเดือด ซึ่งจะไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดยขยะส่วนใหญ่เป็นมวลชีวภาพ เช่น กระดาษ เศษอาหาร และไม้ ฯลฯ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะมีวิธีการทำงานเหมือนกับโรงไฟฟ้าอื่นๆ โดยจะนำขยะมาเผาบนตะแกรง แล้วนำความร้อนที่เกิดขึ้นมาใช้ต้มน้ำในหม้อน้ำจนกลายเป็นไอน้ำเดือด ซึ่งจะไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558
โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวล (ฺBiomass Power Plant)
โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวล
(ฺBiomass Power
Plant)
เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เศษวัสดุจากเชื้อเพลิงชีวมวล ได้แก่ กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กากจากผลผลิตทางการเกษตรที่ผ่านการแปรรูปแล้ว เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษไม้ กากปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กากและกะลามะพร้าว ส่าเหล้า เป็นต้น นำมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และพลังไอน้ำ ซึ่งอาจเป็นเศษวัสดุชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ โดยชีวมวลแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป สำหรับโรงไฟฟ้าที่เลือกใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากแกลบมีความชื้นต่ำ จึงให้ค่าความร้อนสูง และมีหลักการทำงานคล้ายกับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน
องค์ประกอบของชีวมวล
องค์ประกอบของชีวมวลหรือสสารทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือ
ความชื้น (Moisture) ความชื้นหมายถึงปริมาณน้ำที่มีอยู่ ชีวมวลส่วนมากจะมีความชื้นค่อนข้างสูง เพราะเป็นผลผลิตทางการเกษตร ถ้าต้องการนำชีวมวลเป็นพลังงานโดยการเผาไหม้ ความชื้นไม่ควรเกิน 50 เปอร์เซ็นต์
ส่วนที่เผาไหม้ได้ (Combustible substance)ส่วนที่เผาไหม้ได้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Volatiles matter และ Fixed Carbon Volatiles matter คือส่วนที่ลุกเผาไหม้ได้ง่าย ดังนั้นชีวมวลใดที่มีค่า Volatiles matter สูงแสดงว่าติดไฟได้ง่าย
ส่วนที่เผาไหม้ไม่ได้ คือขี้เถ้า (Ash)ชีวมวลส่วนใหญ่จะมีขี้เถ้าประมาณ 1 -3 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นแกลบและฟางข้าว จะมีสัดส่วนขี้เถ้าประมาณ 10 -20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะมีปัญหาในการเผาไหม้และกำจัดพอสมควร
http://www.espthailand.com/article/definition-of-biomass.html
เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เศษวัสดุจากเชื้อเพลิงชีวมวล ได้แก่ กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กากจากผลผลิตทางการเกษตรที่ผ่านการแปรรูปแล้ว เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษไม้ กากปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กากและกะลามะพร้าว ส่าเหล้า เป็นต้น นำมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และพลังไอน้ำ ซึ่งอาจเป็นเศษวัสดุชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ โดยชีวมวลแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป สำหรับโรงไฟฟ้าที่เลือกใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากแกลบมีความชื้นต่ำ จึงให้ค่าความร้อนสูง และมีหลักการทำงานคล้ายกับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน
ความหมายของชีวมวล
ชีวมวล (Biomass) คือ สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิต พลังงานได้ เช่น เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือกากจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น แกลบ ได้จากการสีข้าวเปลือกชานอ้อย ได้จากการผลิตน้ำตาลทรายเศษไม้ ได้จากการแปรรูปไม้ยางพาราหรือไม้ยูคาลิปตัสเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนได้จากสวนป่าที่ปลูกไว้กากปาล์ม ได้จากการสกัดน้ำมันปาล์มดิบออกจากผลปาล์มสดกากมันสำปะหลัง ได้จากการผลิตแป้งมันสำปะหลังซังข้าวโพด ได้จากการสีข้าวโพดเพื่อนำเมล็ดออกกาบและกะลามะพร้าว ได้จากการนำมะพร้าวมาปลอกเปลือกออกเพื่อนำเนื้อ มะพร้าวไปผลิตกะทิ และน้ำมันมะพร้าวส่าเหล้า ได้จากการผลิตอัลกอฮอล์เป็นต้นชีวมวล สามารถเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานได้ เพราะในขั้นตอนของการเจริญเติบโตนั้น พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ | ||
แล้วเปลี่ยนพลังงาน จากแสงอาทิตย์โดยผ่านกระบวนการ สังเคราะห์แสงได้ออกมา เป็นแป้งและน้ำตาล แล้วกักเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ ของพืช ดังนั้น เมื่อนำพืชมาเป็นเชื้อเพลิง เราก็จะได้พลังงานออกมา การใช้ประโยชน์ จากพลังงานชีวมวล สามารถใช้ได้ ทั้งในรูปของพลังงานความร้อน ไอน้ำ หรือผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า โดยจะใช้ เชื้อเพลิงชีวมวล ชนิด ใดชนิดหนึ่งที่กล่าวมาข้างต้น หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ชีวมวลจึงเป็นแหล่งเชื้อเพลิงราคาถูก หากมีการใช้ประโยชน์ในบริเวณที่ไม่ไกลจากแหล่งเชื้อเพลิงมากนัก เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง ชีวมวล มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย การนำชีวมวลมาใช้จึงช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าเชื้อ เพลิงและสร้างรายได้ให้กับคนท้องถิ่น นอกจากนี้การผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวลด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและไม่สร้างสภาวะเรือนกระจก เนื่องจากการปลูกทดแทนทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดการหมุนเวียนและไม่มี การปลดปล่อยเพิ่มเติม เรายังมุ่งหวังว่าการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับชีวมวลจะสามารถเสริมสร้างความ เข้มแข็งและ การมีส่วนร่วมของชุมชนได้อีกด้วย |
องค์ประกอบของชีวมวลหรือสสารทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือ
ความชื้น (Moisture) ความชื้นหมายถึงปริมาณน้ำที่มีอยู่ ชีวมวลส่วนมากจะมีความชื้นค่อนข้างสูง เพราะเป็นผลผลิตทางการเกษตร ถ้าต้องการนำชีวมวลเป็นพลังงานโดยการเผาไหม้ ความชื้นไม่ควรเกิน 50 เปอร์เซ็นต์
ส่วนที่เผาไหม้ได้ (Combustible substance)ส่วนที่เผาไหม้ได้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Volatiles matter และ Fixed Carbon Volatiles matter คือส่วนที่ลุกเผาไหม้ได้ง่าย ดังนั้นชีวมวลใดที่มีค่า Volatiles matter สูงแสดงว่าติดไฟได้ง่าย
ส่วนที่เผาไหม้ไม่ได้ คือขี้เถ้า (Ash)ชีวมวลส่วนใหญ่จะมีขี้เถ้าประมาณ 1 -3 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นแกลบและฟางข้าว จะมีสัดส่วนขี้เถ้าประมาณ 10 -20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะมีปัญหาในการเผาไหม้และกำจัดพอสมควร
http://www.espthailand.com/article/definition-of-biomass.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)