วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (Nuclear Power Plant) 


พลังงานนิวเคลียร์ : เป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อนำพลังงานจากอะตอมของสสารมาใช้งาน โดยอาศัยเตาปฏิกรณ์ปรมาณู แม้ว่าในปัจจุบันพลังงานนิวเคลียร์ที่มีการนำมาใช้ จะได้มาโดยอาศัยปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบแตกตัวเพียงอย่างเดียว แต่ในอนาคตอาจจะสามารถนำประโยชน์จากปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบอื่นมาใช้ได้ เช่น ปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบรวมตัว พลังงานที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณู จะใช้ในการต้มน้ำเพื่อผลิตไอน้ำที่จะใช้เปลี่ยนไปเป็นพลังงานกลสำหรับ ผลิตกระแสไฟฟ้าหรือจุดประสงค์อื่น
พลังงานนิวเคลียร์ฟิชชั่น (Nuclear fission) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการที่นิวเคลียสของอะตอมแตกตัวออกเป็นส่วนเล็กๆ สองส่วน ในปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นเมื่อนิวตรอนชนเข้ากับนิวเคลียสของธาตุที่ สามารถแตกตัวได้ เช่น ยูเรเนียม หรือ พลูโตเนียม จะเกิดการแตกตัวเป็นสองส่วนกลายเป็นธาตุใหม่ พร้อมทั้งปลดปล่อยอนุภาคนิวตรอนและพลังงานจำนวนหนึ่งออกมา
หลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ คือ ระบบที่จะนำพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์มาเปลี่ยนเป็น พลังงานไฟฟ้า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนหลักๆ 4 ส่วนคือ เตาปฏิกรณ์ ระบบระบายความร้อน ระบบกำเนิดกระแสไฟฟ้า และระบบความปลอดภัย
พลังงานที่ เกิดขึ้นในเตาปฏิกรณ์เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น สิ่งที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น ไม่ได้มีเพียงพลังงานจำนวนมากที่ปลดปล่อยออกมา แต่รวมถึงผลผลิตที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น นิวตรอนอิสระจำนวนหนึ่ง การควบคุมจำนวนและการเคลื่อนที่ของนิวตรอนอิสระภายในเตาปฏิกรณ์โดยสารหน่วง นิวตรอน และแท่งควบคุมจะเป็นการกำหนดว่า จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่นขึ้นภายในเตาปฏิกรณ์มากน้อยเพียงใด
พลังงานที่ ผลิตเกิดขึ้นภายในเตาปฏิกรณ์ จะถูกนำออกมาโดยตัวนำความร้อน ซึ่งก็คือของไหลเช่น น้ำ,เกลือหลอมละลายหรือก๊าซคาร์บอนไดอออกไซค์ ของไหลจะรับความร้อนจากภายในเตาปฏิกรณ์ จนตัวมันเองเดือดเป็นไอหรือเป็นตัวกลางในการนำความร้อนไปยังวงจรถัดไปเพื่อ ผลิตไอน้ำ ไอน้ำที่ได้จะถูกส่งผ่านท่อไปยังระบบกำเนิดกระแสไฟฟ้า ที่ไอน้ำจะถูกนำไปขับกังหันไอน้ำที่จะใช้ในการหมุนเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า ต่อไป
โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1.โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน (Pressurized Water Reactor - PWR)
โรงไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน เป็นโรงไฟฟ้าที่นิยมใช้มากที่สุด โดยใช้น้ำเป็นทั้งตัวกลางระบายความร้อนและสารหน่วงนิวตรอน มีการออกแบบระบบการทำงานให้มีสองวงจร โดยวงจรแรกจะเป็นระบบระบายความร้อนออกจากเตาปฏิกรณ์ ที่ซึ่งน้ำจะไหลผ่านเตาปฏิกรณ์เพื่อระบายความร้อนออกจากแกนปฏิกรณ์ และนำความร้อนที่ได้ส่งต่อให้วงจรที่สองที่อุปกรณ์กำเนิดไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำไปขับกังหันไอน้ำ น้ำในวงจรแรกนี้จะมีอุณหภูมิสูงถึง 325 องศาเซลเซียส ดังนั้นวงจรแรกจึงต้องทำงานภายใต้ความดันที่สูงมาก เพื่อป้องกันการเดือดของน้ำในวงจร อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมแรงดันในวงจรแรกคือตัวควบคุมความดัน (pressurizer) โดยน้ำในวงจรแรกจะทำหน้าที่ทั้งเป็นสารหล่อเย็นและสารหน่วงนิวตรอนให้แก่เตา ปฏิกรณ์
ในส่วน ของวงจรที่สองนั้นจะทำงานภายใต้ความดันที่ต่ำกว่าวงจรแรก ซึ่งน้ำในวงจรนี้จะถูกต้มให้เดือดเพื่อผลิตไอน้ำที่อุปกรณ์กำเนิดไอน้ำ ไอน้ำที่ผลิตได้จะใช้ในการขับกังหันไอน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า หลังจากนั้นจะควบแน่นกลับไปเป็นน้ำแล้วไหลกลับไปที่อุปกรณ์ผลิตไอน้ำ เพื่อเปลี่ยนเป็นไอน้ำต่อไปเรื่อยๆ
2.โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำเดือด (Boiling Water Reactor - BWR)
โรงไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำเดือด มีการทำงานที่คล้ายคลึงกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดันมาก แตกต่างกันเพียงแค่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำเดือด มีวงจรการทำงานเพียงแค่วงจรเดียว ที่ซึ่งน้ำจะถูกต้มภายในเตาปฏิกรณ์ (Reactor Vessel) โดยตรง ที่อุณหภูมิประมาณ 285 องศาเซลเซียส เตาปฏิกรณ์แบบนี้ถูกออกแบบให้ทำงาน โดยที่ส่วนบนของแกนปฏิกรณ์ประมาณ 12-15% มีสภาพเป็นไอน้ำ ระบบของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำเดือดนั้น ถูกออกแบบให้น้ำเดือดภายในเตาปฏิกรณ์ทำให้เตาปฏิกรณ์แบบนี้จะทำงานที่ความ ดันต่ำกว่าเตาปฏิกรณ์แบบน้ำอัดความดัน
ไอน้ำที่ผลิต ได้ภายในเตาปฏิกรณ์ จะไหลผ่านอุปกรณ์แยกน้ำบริเวณส่วนบนของเตาปฏิกรณ์ แล้วจะไหลออกไปขับกังหันไอน้ำโดยตรง เนื่องจากน้ำที่ไหลผ่านแกนปฏิกรณ์จะมีการปนเปื้อนจากสารรังสี ทำให้อุปกรณ์ในส่วนของกังหันไอน้ำ (Steam Turbine) จะโดนปนเปื้อนจากสารรังสีด้วย ดังนั้นอุปกรณ์ในส่วนของกังหันไอน้ำ จึงต้องได้รับการป้องกันรังสีเช่นเดียวกับระหว่างการบำรุงรักษา โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำเดือดจะมีต้นทุนต่ำกว่าแบบอื่น เนื่องจากเป็นระบบที่เรียบง่าย และในส่วนข้อกังวลเกี่ยวกับการปนเปื้อนรังสีของอุปกรณ์ของระบบกังหันไอน้ำ นั้น เนื่องจากสารปนเปื้อนในน้ำนั้นมีอายุสั้นมาก* โดยห้องกังหันไอน้ำสามารถเข้าไปเพื่อบำรุงรักษาได้ภายในระยะเวลาอันสั้น หลังจากการ shut down เตาปฏิกรณ์
3.โรงไฟฟ้าแบบน้ำมวลหนักอัดความดัน (Pressurized Heavy Water Reactor - PHWR or CANDU)
โรงไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำมวลหนักอัดความดัน พัฒนาโดยประเทศแคนาดาในช่วงปี ค.ศ.1950 ภายใต้ชื่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบแคนดู (CANDU) โรงไฟฟ้าแบบนี้ใช้ยูเรเนียมธรรมชาติที่ไม่มีการเสริมสมรรถนะเป็นเชื้อเพลิง ทำให้ต้องใช้สารหน่วงนิวตรอนที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าโรงไฟฟ้าพลังงาน นิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดันหรือแบบน้ำเดือด ซึ่งในกรณีนี้ได้มีการนำน้ำมวลหนัก (D2O) มาใช้ ในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำมวลหนักอัดความดัน มีการออกแบบระบบการทำงานให้มีสองวงจรเหมือนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำ อัดความดัน โดยในวงจรแรกน้ำมวลหนัก (D2O) ที่จะทำหน้าที่ทั้งเป็นสารหน่วงนิวตรอนและระบายความร้อนออกจากมัดเชื้อเพลิง จะถูกอัดภายใต้ความดันสูง และจะไหลผ่านช่องบรรจุเชื้อเพลิงเพื่อระบายความร้อนออกจากเตาปฏิกรณ์ที่ เรียกอีกชื่อว่า คาแรนเดรีย จนน้ำมวลหนักในวงจรแรกมีอุณหภูมิสูงถึง 290°C และเช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน น้ำมวลหนักจะถ่ายเทความร้อนให้แก่วงจรที่สองเพื่อผลิตไอน้ำที่อุปกรณ์กำเนิด ไอน้ำ แล้วขับกังหันไอน้ำผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากการใช้ยูเรเนียมธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ทำให้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำมวลหนักอัดความดัน ต้องมีการเปลี่ยนเชื้อเพลิงทุกวัน จึงมีการออกแบบให้โรงไฟฟ้าชนิดนี้สามารถเปลี่ยนเชื้อเพลิงได้โดยไม่ต้องหยุด การทำงานของเตาปฏิกรณ์
การจัดการของเสียของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
หลังจากที่ ยูเรเนียมถูกใช้งานในการผลิตกระแสไฟฟ้าภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว เราจะเรียกมันว่า เชื้อเพลิงใช้แล้ว ที่เป็นของเสียที่จะต้องจัดการ เชื้อเพลิงใช้แล้วจัดเป็นกากกัมมันตรังสีระดับสูง ซึ่งไม่สามารถและไม่มีทางที่จะทิ้งได้อย่างของเสียโดยทั่วไป โดยปกติมันจะถูกจัดเก็บไว้ชั่วคราวในสระน้ำพิเศษภายในโรงไฟฟ้า ที่จะช่วยให้เชื้อเพลิงใช้แล้วลดความร้อนและความแรงรังสีลง โดยเชื้อเพลิงใช้แล้วจะไม่เกิดการเสียหายระหว่างการจัดเก็บไว้ในสระ
ถึงแม้ว่า เชื้อเพลิงใช้แล้วจะถูกจัดเก็บอยู่ในสระน้ำภายในโรงไฟฟ้าได้เป็นระยะเวลานาน แต่ในที่สุดมันก็จะถูกนำมาจัดเก็บภายนอกโรงไฟฟ้า หรือนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ กระบวนการแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว คือกระบวนการนำเชื้อเพลิงใช้แล้วมาผ่านกระบวนการแยกยูเรเนียมและพลูโตเนียม ที่หลงเหลืออยู่ โดยการตัดเชื้อเพลิงใช้แล้วออกเป็นชิ้นๆ แล้วละลายในสารละลายกรด ยูเรเนียมและพลูโตเนียมที่แยกออกมาได้ จะถูกนำกลับไปใช้เป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์อีกครั้ง หลังจากกระบวนการแปรสภาพเชื้อเพลิง กากกัมมันตรังสีระดับสูงที่หลงเหลือจะถูกทำให้แห้งจนมีลักษณะเป็นผงแป้ง เราเรียกกระบวนการนี้ว่า แคลไซนิ่ง หลังจากนั้นกากกัมมันตรังสีจะถูกผสมกับแก้วชนิดพิเศษ เพื่อผนึกกากกัมมันตรังสีเอาไว้ เราเรียกกระบวนการนี้ว่า วิทริฟิเคชั่น แก้วหลอมละลายที่ผสมกับกากกัมมันตรังสี จะถูกเทลงในกระบอกโลหะสเตนเลสสำหรับการจัดเก็บ โดยในปัจจุบันกระบวนการจัดการจะสิ้นสุดที่กระบวนการนี้
ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
มาตรฐานความ ปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นไปตามมาตรฐานของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) โดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อสาธารณชนและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ อาทิ ส่วนปิดกั้นรังสี 5 ชั้น ตั้งแต่เม็ดเชื้อเพลิง ท่อหุ้มเม็ดเชื้อเพลิง ถังปฏิกรณ์ อาคารปฏิกรณ์ชั้นใน จนถึงอาคารปฏิกรณ์ชั้นนอก ซึ่งอาคารปฎิกรณ์ชั้นนอกมีความหนาถึง 1.5-2 เมตร ทำให้การเดินเครื่องโรงไฟฟ้าในภาวะปกติ หรือกรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น รังสีจะไม่สามารถรั่วออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกได้ การผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง ดังนั้นระหว่างการเดินเครื่องจะไม่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน เนื่องจากไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์
ถึงแม้ว่าโรง ไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงมาก เนื่องจากมีมาตรการและกระบวนการตรวจสอบต่างๆ ที่เข้มงวดและรัดกุมหลายขั้นตอน แต่ก็อาจเกิดเหตุขัดข้องหรืออุบัติเหตุได้เหมือนโรงไฟฟ้าทั่วไป เพื่อให้ประเทศที่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ได้รับทราบข้อมูล และสามารถแก้ไขปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ให้มีความปลอดภัย และประชาชนทั่วไปเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดได้ง่ายขึ้น ตลอดจนป้องกันการสับสน และไม่ก่อให้เกิดความวิตกเกินกว่าสถานการณ์ที่แท้จริง ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA: International Atomic Energy Agency) ร่วมกับองค์กร Nuclear Energy Agency Organization for Economic Cooperation and Development (NEA/OECD) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับใช้รายงานอุบัติเหตุโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นใน ปี พ.ศ.2533 โดยเรียกว่า มาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (INES: International Nuclear Event Scale) โดยกำหนดเป็นมาตราสากล ตั้งแต่ระดับ 0 ถึง 7 โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
ระดับที่ 0 ระดับเหตุการณ์ปกติ (Deviation) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัย
ระดับที่ 1-3 ระดับแจ้งเหตุขัดข้องหรืออุบัติการณ์นิวเคลียร์ (Nuclear incident) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขัดข้องในโรงงานนิวเคลียร์ ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ไม่รุนแรงเท่าอุบัติเหตุนิวเคลียร์
ระดับที่ 4-7 ระดับอุบัติเหตุนิวเคลียร์ (Nuclear accident) หมายถึง เหตุการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นในโรงงานนิวเคลียร์โดยไม่เจตนา รวมถึงความผิดพลาดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมทางนิวเคลียร์ หรือของอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับระบบความปลอดภัย ทำให้มีการปลดปล่อย หรือเกือบมีการปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อม
ตาราง ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ ตามมาตรา INES (International Nuclear Event Scale)

หมายเหตุ : มิลลิซีเวิร์ต คือ หน่วยย่อยของหน่วยวัดปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับ
เบคเคอเรล คือ หน่วยวัดความแรงรังสีของสารรังสีทีมีอัตราการสลายตัว 1 ครั้งใน 1 วินาที (1 เทราเบคเคอเรล = 1012 เบคเคอเรล)

ข้อดี-ข้อจำกัดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ข้อดี
  • เชื้อเพลิงมีราคาถูก
  • สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปริมาณมาก
  • ปริมาณของเสียน้อยเมื่อเทียบกับวิธีการผลิตไฟฟ้าแบบอื่นๆ
  • สามารถยืดอายุการใช้งานของเชื้อเพลิงและโรงไฟฟ้าได้ตามหลักวิทยาศาสตร์
  • สามารถขนส่งเชื้อเพลิงได้ง่าย
  • ไม่สร้างก๊าซเรือนกระจกและฝนกรด
ข้อจำกัด - การแก้ไขป้องกัน
  • เนื่องจากมีระบบความปลอดภัยและการป้องกันรังสีที่เข้มงวด จึงใช้เงินลงทุนมาก
  • เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว สามารถนำไปผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้ แต่ภายใต้พันธสัญญา "ไม่เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์" และการควบคุมของ IAEA หากประเทศไทยจะมี รฟ.นิวเคลียร์จะควบคุมไม่ให้นำไปผลิตอาวุธได้
  • การเก็บรักษาเชื้อเพลิงใช้แล้ว มีกัมมันตรังสีระดับสูง ต้องควบคุมอย่างเข้มงวด  

http://projects-pdp2010.egat.co.th/projects4/index.php?option=com_content&view=article&id=6&Itemid=13

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โรงไฟฟ้าราชบุรี_Part2

ตัวอย่างของโรงไฟฟ้าที่มี่การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

โรงไฟฟ้าราชบุรี_Part1

ตัวอย่างของโรงไฟฟ้าที่มี่การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานไฟฟ้า

การ์ตูน มนุษย์ไฟฟ้า ตอนที่10 รอบรู้เรื่องปิโตรเลียม(โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ)

โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส (Gas Turbine Power Plant)

โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส (Gas Turbine Power Plant)

ใช้น้ำมันดีเซลหรือก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง โดยทำการอัดอากาศให้มีความดันสูง 8-10 เท่า และส่งอากาศเข้าไปในห้องเผาไหม้ ทำให้เกิดการขยายตัว เกิดแรงดัน และอุณหภูมิสูง ส่งอากาศเข้าไปในหมุนเครื่องกันหันแก๊ส เพลาของเครื่องกังหันแก๊สจะต่อกับเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำและได้กระแสไฟฟ้า


 

 
 

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined-Cycle Power Plant)

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined-Cycle Power Plant)

เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีการทำงาน 2 ระบบร่วมกัน คือ ระบบของโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ ทำงานร่วมกับระบบของโรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำ โดยนำเชื้อเพลิงมาจุดระเบิดเพื่อให้เกิดพลังงานความร้อนไปขับเคลื่อนกังหัน ก๊าซในการผลิตไฟฟ้า จากนั้นไอเสียที่เกิดจากการจุดระเบิดในเครื่องกังหันก๊าซ จะไปผ่านหม้อน้ำ เพี่อต้มน้ำให้กลายเป็นไอมาขับเคลื่อนกังหันไอน้ำ เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าอีกครั้งหนึ่ง


 
 
 ที่มา :
http://www.egco.com/th/energy_knowledge_about_powerplant.asp
http://alcoholim.blogspot.com/

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

กำเนิดเครื่องจักรไอน้ำและโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน

ตัวอย่างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนในประเทศไทย

โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ทันสมัยที่สุดแห่งแรกของประเทศไทย ก่อสร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชน ในเขตนครหลวงเมื่อ 30 กว่าปีมาแล้ว ปัจจุบันโรงไฟฟ้าแห่งนี้ยังสามารถเดินเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าอยู่ และเป็นต้นกำเนิดพลังงานไฟฟ้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในระบบการผลิตของประเทศ 
ที่ตั้ง
โรงไฟฟ้า พระนครเหนือ ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา เชิงสะพานพระรามเจ็ด ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี แยกจากถนนจรัญสนิทวงศ์ประมาณ 500 เมตร
ทำเลที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ นั้นเหมาะสมเพราะอยู่ใกล้กับศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้าและคมนาคมสะดวก
   
การดำเนินงาน
งานก่อ สร้างโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ เริ่มเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2502 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังความร้อน เครื่องแรกมีขนาดกำลังผลิต 75,000 กิโลวัตต์ ใช้เวลาในการก่อสร้าง 1 ปี 8 เดือน ซึ่งได้แล้วเสร็จสามารถทดลองผลิตไฟฟ้าได้ เมื่อวันที 25 มีนาคม 2504 ทำพิธีเปิดอย่างเป้นทางการเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2504 โดย ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นประธานในพิธี
แม้ หลังจากที่โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ เริ่มเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า บริการประชาชน ความต้องการพลังงานไฟฟ้า ของประเทศก็ยังคงสูงอยู่ รัฐบาลจึงอนุมัติให้ กฟผ. สร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังความร้อนเพิ่มขึ้นอีกเป็นเครื่องที่ 2 และ 3 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 2 มีขนาดกำลังผลิต 75,000 กิโลวัตต์ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2506 และเครื่องที่ 3 ขนาดกำลังผลิต 87,500 กิโลวัตต์ แล้วเสร็จ และจ่ายไฟฟ้าขนานเข้าระบบได้ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2511โดยมี ฯพณฯจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ทำพิธีเปิดเดินเครื่อง
โรง ไฟฟ้าพระนครเหนือทั้ง 3 เครื่อง สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างดี ประกอบกับเมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำที่เขื่อนภูมิพลแล้วเสร็จและจ่ายไฟ เข้าระบบด้วย ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าของประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ต่อ มาในช่วง พ.ศ. 2512-2513 กฟผ. ประสบปัญหาปริมาณน้ำไหลเข้าอ่าง ที่เขื่อนภูมิพลต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย มีผลให้การผลิตไฟฟ้า ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำลดลง โดยที่ความต้องการพลังงานไฟฟ้า ของประเทศมีอัตราเพิ่งสูง กฟผ.จึงได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กังหันแก๊สขนาดกำลังผลิต 15,000 กิโลวัตต์ เพิ่มขึ้น 2 เครื่อง เพื่อเสริมระบบการผลิต ให้มั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากการก่อสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันแก๊สเครื่องที่ 4 และ 5 แล้วเสร็จในปี 2513 โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนพระนครเหนือได้กลายเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้า ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดของประเทศไทยในขณะนั้น 
 

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน (Thermal Power Plant)

โรงไฟฟ้าพลังความร้อน เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังความร้อนจากไอน้ำหรือก๊าซ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงมาเป็นต้นพลังขับเคลื่อนเครื่องกังหันไอน้ำหรือ กังหันก๊าซ โรงไฟฟ้าที่ใช้ความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงหลายชนิด เช่น ก๊าซธรรมชาติ ลิกไนต์ น้ำมันเตา ฯลฯ ต้มน้ำให้กลายเป็นไอน้ำแรงดันสูง แล้วไปฉุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้หมุนทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า เหมาะสำหรับเดินเครื่องเป็นโรงไฟฟ้าฐาน ที่ใช้เดินเครื่องแต่ละครั้งเป็นเวลานาน

 Thermal Power plant Sample

          

http://www.egat.co.th/index.php?option=com_glossary&letter=%E0%B8%A3&id=110

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเภทของโรงไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าในโลกเรานี้ มีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามความต้องการ หรือความจำเป็นของแต่ละประเทศ ซึ่งอาจจะดูจากทรัพยากรพลังงาน หรือสภาพภูมิอากาศของประเทศนั้นๆ แต่เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจมากขึ้น เราอาจแยกโรงไฟฟ้าตามชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ ดังนี้

โรงไฟฟ้าพลังความร้อน (Thermal Power Plant)

เป็นโรง ไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเตา หรือถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า อาศัยความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงไปต้มน้ำให้เป็นไอน้ำที่มีแรงดันและมี อุณหภูมิสูง เพื่อไปขับดันกังหันไอน้ำ ซึ่งจะมีเพลาต่อเชื่อมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จากนั้นไอน้ำจะผ่านไปกลั่นตัวเป็นน้ำที่เครื่องควบแน่น และถูกส่งกลับมารับความร้อนในหม้อน้ำ (Boiler) อีกครั้ง

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined-Cycle Power Plant)

เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีการทำงาน 2 ระบบร่วมกัน คือ ระบบของโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ ทำงานร่วมกับระบบของโรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำ โดยนำเชื้อเพลิงมาจุดระเบิดเพื่อให้เกิดพลังงานความร้อนไปขับเคลื่อนกังหัน ก๊าซในการผลิตไฟฟ้า จากนั้นไอเสียที่เกิดจากการจุดระเบิดในเครื่องกังหันก๊าซ จะไปผ่านหม้อน้ำ เพี่อต้มน้ำให้กลายเป็นไอมาขับเคลื่อนกังหันไอน้ำ เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าอีกครั้งหนึ่ง

โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส (Gas Turbine Power Plant)

ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง โดยทำการอัดอากาศให้มีความดันสูง 8-10 เท่า และส่งอากาศเข้าไปในห้องเผาไหม้ ทำให้เกิดการขยายตัว เกิดแรงดัน และอุณหภูมิสูง ส่งอากาศเข้าไปในหมุนเครื่องกันหันแก๊ส เพลาของเครื่องกังหันแก๊สจะต่อกับเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำและได้กระแสไฟฟ้า

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (Nuclear Power Plant) 

เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนประเภทหนึ่ง อาศัยพลังความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการแตกตัวของธาตุยูเรเนียม แล้วนำไปใช้ในกระบวนการผลิตไอน้ำที่ใช้ในการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวล (ฺBiomass Power Plant) 

เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เศษวัสดุจากเชื้อเพลิงชีวมวล ได้แก่ กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กากจากผลผลิตทางการเกษตรที่ผ่านการแปรรูปแล้ว เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษไม้ กากปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กากและกะลามะพร้าว ส่าเหล้า เป็นต้น นำมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และพลังไอน้ำ ซึ่งอาจเป็นเศษวัสดุชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ โดยชีวมวลแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป สำหรับโรงไฟฟ้าที่เลือกใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากแกลบมีความชื้นต่ำ จึงให้ค่าความร้อนสูง และมีหลักการทำงานคล้ายกับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ (Incinery Power Plant) 

ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดยขยะส่วนใหญ่เป็นมวลชีวภาพ เช่น กระดาษ เศษอาหาร และไม้ ฯลฯ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะมีวิธีการทำงานเหมือนกับโรงไฟฟ้าอื่นๆ โดยจะนำขยะมาเผาบนตะแกรง แล้วนำความร้อนที่เกิดขึ้นมาใช้ต้มน้ำในหม้อน้ำจนกลายเป็นไอน้ำเดือด ซึ่งจะไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant) 

ใช้แรงดันของน้ำจากเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าโรงไฟฟ้าไปหมุนเพลาของกังหันน้ำ ซึ่งจะขุดให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าตลอดเวลาที่มีการเปิดน้ำให้ไหลผ่าน 

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power Plant)

เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ความร้อนของแสงอาทิตย์ไปต้มน้ำ หรือทำให้ก๊าซร้อน แล้วใช้ไอน้ำร้อน หรือก๊าซร้อน ไปทำให้เทอร์ไบน์หรือกังหันใบพัดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุนอีกต่อหนึ่ง หรืออาจใช้เซลล์สุริยะ หรือโซล่าร์เซลล์ (Solar Cell) ในปริมาณมาก เป็นตัวนำความร้อน ซึ่งการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีค่อนข้างสูง มีความสลับซับซ้อน และราคาลงทุนขั้นแรกสูงมาก

โรงไฟฟ้าพลังงานลม (Wind Power Plant)

เป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ 2 ที่ โดยใช้กังหันลมเป็นอุปกรณ์นำพลังงานลมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการผลิตกระแส ไฟฟ้า และในการสูบน้ำ จึงต้องติดตั้งกังหันลมไว้ในสถานที่ที่ลมพัดแรงตลอดเวลาจึงจะทำงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ เมื่อกังหันลมหมุนแกนของกังหันลมที่ต่อมายังเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้า ออกมาใช้งานได้

            ที่มา : http://www.egco.com/th/energy_knowledge_about_powerplant.asp

ประวัติการไฟฟ้าในประเทศไทย

ประวัติการไฟฟ้าในประเทศไทย

imageAbout03.jpg
imageAbout04.jpg
imageAbout02.jpgimageAbout01.jpg


ประวัติความเป็นมาของไฟฟ้า

ประวัติความเป็นมาของไฟฟ้า


ไฟฟ้า ที่พวกเรากำลังใช้ประโยชน์นี้ ชาวกรีกโบราณเป็นพวกแรกที่ได้ค้นพบในราว 2000 ปีมาแล้ว พวกเขาได้สังเกตุ เห็นว่า เมื่อนำวัสดุที่เดียวนี้เรียกว่า "อำพัน" ถู กับวัสดุชนิดอื่นก็จะเกิดแรงลึกลับขึ้นที่อำพันนี้ และอำพันดังกล่าวสามารถดึงดูด พวกวัสดุเบาๆ เช่นใบไม้แห้งๆ, เศษกระดาษ เป็นต้น ส่วนคำว่าไฟฟ้า (electricity) ที่ใช้กันปัจจุบันนี้ ก็มาจากรากศัพท์ ภาษากรีกคำว่า อีเล็กตรอน (electron) ซึงแปลว่าอำพัน


                ในสมัยแรกๆ มนุษย์รู้ว่า ไฟฟ้าเกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่านับเป็นเวลานาน ที่มนุษย์ไม่สามารถให้คำอธิบายความเป็นไปที่แท้จริงของไฟฟ้า ที่ดูเหมือนว่าวิ่งลงมาจากฟ้า และมีอำนาจในการทำลายได้ จนกระทั่งมนุษย์สามารถประดิษฐ์สายล่อฟ้าไว้ป้องกันฟ้าผ่าได้


                 เมื่อ 2500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ชนพวกติวตัน ที่อาศัยอยู่แถบฝั่งแซมแลนด์ของทะเล บอลติกในปรัสเซียตะวันออก ได้พบหินสีเหลืองชนิดหนึ่งซึ่งเมื่อถูกแสงอาทิตย์ก็จะมีประกายคล้ายทอง คุณสมบัติพิเศษของมันคือ เมื่อโยนลงในกองไฟมันจะสุกสว่างและติดไฟได้เรียกกันว่า "อำพัน" ซึ่ง เกิดจากการทับถมของยางไม้เป็นเวลานานๆ อำพันถูกนำมาเป็นเครื่องประดับและหวี เมื่อนำแท่งอำพันมาถูด้วยขนสัตว์ จะเกิดประกายไฟขึ้นได้ และเมื่อหวีผมด้วยหวีที่ทำจากอำพันก็จะมีเสียงดังอย่างลึกลับ และหวีจะดูดเส้นผม เหมือนว่าภายในอำพันมีแรงลึกลับอย่างหนึ่งซ่อนอยู่
                ต่อ มาเมื่อ 600 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ทาลีส (Thales) นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกได้ค้นพบไฟฟ้าขึ้น กล่าวคือเมื่อเขาได้นำเอาแท่งอำพันถูกับผ้าขนสัตว์ แท่งอำพันจะมีอำนาจดูดสิ่งของต่างๆ ที่เบาได้ เช่น เส้นผมเศษกระดาษ เศษผง เป็นต้น เขาจึงให้ชื่ออำนาจนี้ว่า ไฟฟ้า หรือ อิเล็กตรอน (Electron) ซึ่งมาจาก ภาษา กรีกว่า อีเล็กตร้า (Elektra) 



               ต่อ มาเมื่อ พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ ดร.วิลเลี่ยม กิลเบิร์ต (William Gilbert) ได้ทำการทดลองอย่างเดียวกันโดยนำเอาแท่งแก้ว และแท่งยางสน มาถูกับผ้าแพรหรือผ้าขนสัตว์แล้วนำมาทดลองดูดของเบาๆ จะได้ผลเช่นเดียวกับทาลีส กิลเบิร์ต จึงให้ชื่อไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้ว่า อิเล็กตริกซิตี้ (Electricity)



              ต่อ มาเมื่อ พ.ศ. 2280 (ค.ศ. 1747) เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันได้ค้นพบไฟฟ้าในอากาศขึ้น โดยเขาได้ทำการทดลองนำว่าวซึ่งมีกุญแจผูกติดอยู่กับสายป่านขึ้นในอากาศขณะ ที่เกิดพายุฝน เขาพบว่าเมื่อเอามือไปใกล้กุญแจก็ปรากฏประกายไฟฟ้ามายังมือของเขา จากการทดลองนี้ทำให้เขาค้นพบเกี่ยวกับปรากฏการณ์ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ซึ่งเกิดจากประจุไฟฟ้าในอากาศ นับตั้งแต่นั้นมาแฟรงคลินก็สามารถประดิษฐ์สายล่อฟ้าได้เป็นคนแรก โดยเอาโลหะต่อไว้กับยอดหอคอยที่สูงๆ แล้วต่อสายลวดลงมายังดิน ซึ่งเป็นการป้องกันฟ้าผ่าได้ กล่าวคือไฟฟ้าจากอากาศจะไหลเข้าสู่โลหะที่ต่ออยู่กับยอดหอคอยแล้วไหลลงมาตาม สายลวดที่ต่อเอาไว้ลงสู่ดินหมดโดยไม่เป็นอันตรายต่อคนหรืออาคารบ้านเรือน

         ต่อ มาเมื่อ พ.ศ. 2333 (ค.ศ. 1790) วอลตา (Volta) นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียนได้ค้นพบไฟฟ้าที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี โดยนำเอาวัตถุต่างกันสองชนิด เช่น ทองแดงกับสังกะสีจุ่มในน้ำยาเคมี เช่นกรดีกำมะถันหรือกรดซัลฟิวริก โลหะสองชนิดจะทำปฏิกิริยาทางเคมีกับน้ำยาเคมีทำให้เกิดไฟฟ้าขึ้นได้ เรียกการทดลองนี้ว่า วอลเทอิก เซลล์ (Voltaic Cell) ซึ่งต่อมาภายหลังวิวัฒนาการมาเป็น เซลล์แห้ง หรือถ่านไฟฉาย และเซลล์เปียกหรือแบตเตอรี่

       
            ใน ปี ค.ศ. 1791 ลุยจิ กัลวานี (Luigi Galvani) นักฟิสิกส์ชาวอิตาลี ได้ค้นพบไฟฟ้าชีวภาพ กัลวานีได้พิสูจน์ให้เห็นว่าไฟฟ้าเป็นตัวกลางของการส่งสัญญาณจากเซลล์ประสา ทปสู่กล้ามเนื้อ
               

            ประมาณ ปี ค.ศ. 1819 – 1820 ได้มีการนำเสนอทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetism) เป็นทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ไฟฟ้าและแม่เหล็ก โดยฮันส์ คริสเตียน เออสเตด (Hans Christian Orsted) และอังเดร มารี แอมแปร์ (Andre-Marie Ampere)
               

            ปี ค.ศ. 1827 จอร์จ ไซมอน โอห์ม (Georg Simon Ohm) ได้ใช้คณิตศาสตร์วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ "กฎของโอห์ม (Ohm’s law)"
              

           อเล็ก ซานโดร โวลต้า (Alessandro Volta) ได้ประดิษฐ์แบตเตอรี่ที่ทำมาจากแผ่นเซลล์ที่ซ้อนทับกันของสังกะสีและทองแดง นับว่าเป็นความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์ที่สามารถพัฒนาแหล่งจ่ายไฟฟ้า ที่ดีกว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Generator) ที่เคยใช้กันมาก่อนหน้านี้
               

            พ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) ได้ค้นพบไฟฟ้าที่เกิดจากอำนาจแม่เหล็ก โดยนำขดลวดเคลื่อนที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นในขดลวด ถือเป็นบิดาแห่งวิชาไฟฟ้า ผู้ที่ประดิษฐ์คิดค้น "ไดนาโม (Dynamo)" ซึ่งเป็นต้นแบบของเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าในปัจจุบัน
                 

             ปี ค.ศ. 1861 และ 1862 เจมส์ คลาร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell) ได้นำเสนอทฤฎีแม่เหล็กไฟฟ้า อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า
                 

             พ.ศ. 2420 - 2430 (ค.ศ.1877-1887) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas A. Edison) ได้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าขึ้นสำเร็จเป็นคนแรก และยังได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ ไฟฟ้าอื่นๆ ฉายภาพยนตร์ หีบเสียง เครื่องอัดสำเนา เป็นต้น 



         นิโค ลา เทสลา เป็นเจ้าของแนวความคิดเรื่องไฟฟ้ากระแสสลับ เขาได้ค้นพบมอเตอร์เหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าและสามารถนำมาใช้งานได้เป้นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1888 อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีของเทสลามีความขัดแย้งกับทฤษฎีของโทมัส อัลวา เอดิสันโดยสิ้นเชิง ทำให้ในขณะที่โทมัส อัลวา เอดิสัน ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดนักประดิษฐ์ เทสลากลับถูกมองว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เพี้ยนคนหนึ่งเท่านั้น


           นอก จากนี้ ยังมีนักวิทยาศาสตร์อีกหลายท่าน เช่น อะเล็กซานเดอร์ เกรแฮมเบลล์ (Alexander Graham Bell) ผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์ มาร์โคนี (Marconi) นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียนเป็นผู้ค้นพบการส่งสัญญาณวิทยุ อ็อตโต บราธี (Otto Blathy) ผุ้ประดิษฐ์หม้อแปลงไฟฟ้า เอินสท์ เวอเทอ ฟอน ซีเมนส์ (Ernst Werner von Siemens)เป็นต้น               

          วิทยา ศาสตร์ด้านไฟฟ้าเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ไฟฟ้าได้แปลงวิถีชีวิตของ   คนสมัยใหม่ และถือได้ว่าเป็ยแรงขับเคลื่อนสำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2
               
                      ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/16298-00/